Tense นั้นถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหรือ 3 ช่วงเวลาใหญ่ๆ ดังนี้
- ปัจจุบันกาล (Present Tense)
- อดีตกาล (Past Tense)
- อนาคตกาล (Future Tense)
1. Present Simple Tense (ปัจจุบันกาลธรรมดา)
- โครงสร้าง = Subject (ประธาน) + Verb 1 (กริยาช่อง 1)
- ตัวอย่าง = She speaks.
2. Present Continuous Tense (ปัจจุบันกาลกำลังกระทำอยู่)
- โครงสร้าง = Subject (ประธาน) + Verb to be (is, am หรือ are) + Verb-ing
- ตัวอย่าง = She is speaking.
3. Present Perfect Tense (ปัจจุบันกาลสมบูรณ์)
- โครงสร้าง = Subject (ประธาน) + has หรือ have + Verb 3 (กริยาช่อง 3)
- ตัวอย่าง = She has spoken.
4. Present Perfect Continuous Tense (ปัจจุบันกาลสมบูรณ์แต่กำลังกระทำอยู่)
- โครงสร้าง = Subject (ประธาน) + has หรือ have + been + Verb-ing
- ตัวอย่าง = She has been speaking.
5. Past Simple Tense (อดีตกาลธรรมดา)
- โครงสร้าง = Subject (ประธาน) + Verb 2 (กริยาช่อง 2)
- ตัวอย่าง = She spoke.
6. Past Continuous Tense (อดีตกาลกำลังกระทำอยู่)
- โครงสร้าง = Subject (ประธาน) + was หรือ were + Verb-ing
- ตัวอย่าง = She was speaking.
7. Past Perfect Tense (อดีตกาลสมบูรณ์)
- โครงสร้าง = Subject (ประธาน) + had + Verb 3 (กริยาช่อง 3)
- ตัวอย่าง = She had spoken.
8. Past Perfect Continuous Tense (อดีตกาลสมบูรณ์แต่กำลังกระทำอยู่)
- โครงสร้าง = Subject (ประธาน) + had been + Verb-ing
- ตัวอย่าง = She had been speaking.
9. Future Simple Tense (อนาคตกาลธรรมดา)
- โครงสร้าง = Subject (ประธาน) + will หรือ shall + Verb 1 (กริยาช่อง 1)
- ตัวอย่าง = She will speak.
10. Future Continuous Tense (อนาคตกาลกำลังกระทำอยู่)
- โครงสร้าง = Subject (ประธาน) + will หรือ shall + be + Verb-ing
- ตัวอย่าง = She will be speaking.
11. Future Perfect Tense (อนาคตกาลสมบูรณ์)
- โครงสร้าง = Subject (ประธาน) + will หรือ shall + have + Verb 3 (กริยาช่อง 3)
- ตัวอย่าง = She will have spoken.
12. Future Perfect Continuous Tense (อนาคตกาลสมบูรณ์แต่กำลังกระทำอยู่)
- โครงสร้าง = Subject (ประธาน) + will หรือ shall + have + been + Verb-ing
- ตัวอย่าง = She will have been speaking.
หมายเหตุ : การเรียนหรือการใช้ Tense ทั้ง 12 ในข้างต้น มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เรื่องของกริยา 3 ช่องด้วย มิฉะนั้นก็อาจจะทำให้ใช้คำกริยาไม่ตรงกับครงสร้างของ Tense ซึ่งอาจจะทำให้ความหมายของรูปประโยคผิดเพี้ยนไปก็เป็นได้
สุดท้ายนี้ทางผู้เขียนหวังว่าบทความเกี่ยวกับ Tense บทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยและหากท่านใดที่ผ่านเข้ามาอ่านหรือศึกษาเห็นข้อผิดพลาดใดๆ ของบทความนี้ก็สามารถแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ทางผู้เขียนได้แก้ไขได้ ซึ่งทางผู้เขียนจักขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น